#ผู้หยั่งรู้

?️?#ผู้หยั่งรู้

ตามหลักจิตวิทยา… Empathy
(การหยั่งรู้วาระจิต)
แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ…คือ

1. ‘#การหยั่งรู้ที่มีความเข้าใจในด้านของปัญญา และองค์ความรู้ ‘ซึ่งมีขีดความสามารถในการเข้าใจว่าผู้คนรู้สึกอย่างไร และกำลังคิดอะไรอยู่ และการหยั่งรู้ในลักษณะนี้ จะทำให้เกิดการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้เกิดการถ่ายทอดข้อมูลที่สามารถเข้าถึงผู้อื่นได้อย่างตรงประเด็นที่สุด

2. ‘#การหยังรู้วาระจิตในด้านอารมณ์
(หรือที่เรียกว่า รับอารมณ์ผู้อื่น) จะมีขีดความสามารถในการแบ่งปันความรู้สึกของบุคคลอื่น ซึ่งบางคนได้เปรียบเทียบไว้คล้ายประโยคที่ว่า…. “ความเจ็บปวดของคุณมันอยู่ในหัวใจของฉัน” …..ซึ่ง การหยั่งรู้ ฯ ในลักษณะนี้ จะทำให้เกิดการสร้างอารมณ์ร่วมในการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

3. ‘#การหยั่งรู้ที่เป็นไปด้วยความเมตตา-กรุณา’ (หรือที่เรียกว่า เอื้ออาทร ) ซึ่งมีลักษณะของการแสดงออกที่มากกว่าแค่การทำความเข้าใจผู้อื่นหรือแค่แบ่งปันความรู้สึกให้กับพวกเขา: แต่การหยั่งรู้ในลักษณะนี้…มันกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำจริง ๆ…

?️?#แต่สำหรับ Empathy …
จะทำมากกว่าแค่แสดงความเสียใจ
หรือส่งการ์ด.. แต่จะเริ่มให้เวลาไปกับความพยายามในการใช้การหยั่งรู้ในระดับปัญญา ฯ

✅? (ลักษณะที่ 1)
เพื่อค้นหาว่า
– พวกเขาสูญเสียใคร ?
– พวกเขาใกล้ชิดกับคนนี้มากแค่ไหน?
– และนอกจากพวกเขาจะได้รับความรู้สึกเจ็บปวดและสูญเสียแล้ว ชีวิตของพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ? ฯ

✅?#ตามต่อด้วยการหยั่งรู้ด้านอารมณ์ (ลักษณะที่ 2)
ซึ่งจะทำให้ไม่เพียงแค่เข้าใจความรู้สึกของเพื่อน และแบ่งปันให้พวกเขาเท่านั้น แต่จะพยายามเชื่อมต่อกับพวกเขาด้วยความรู้สึกเศร้าโศกอย่างลึกซึ้งและความเจ็บปวดทางอารมณ์ที่มาจากภายในตัวคุณ ซึ่งคุณยังคงจดจำได้เมื่อคราวที่คุณได้สูญเสียใครบางคนไป หรือหากคุณไม่เคยมีประสบการณ์ในการสูญเสียเช่นพวกเขา ก็อาจเกิดจินตภาพขึ้นว่าคุณรู้สึกอย่างไรหากคุณต้องสูญเสียใครบางคน

✅?#ท้ายที่สุด (ลักษณะที่ 3)
การหยั่งรู้ที่ทำให้คุณต้องลงมือปฏิบัติ
ที่ทำให้คุณอาจเข้าไปช่วยให้คำแนะนำ ปรึกษาในเรื่องนั้นๆ เพื่อที่เพื่อนของคุณจะได้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปัญหา และบางทีคุณอาจช่วยด้วยการอยู่เป็นเพื่อนพวกเขา ให้พลังใจ หรือหากพวกเขาต้องการอยู่คนเดียวเงียบๆ คุณก็สามารถ ช่วยแชร์พลังงาน ให้พวกเขาได้ซักระยะหนึ่ง ซึ่งทั้งสามลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นพร้อมกันโดยอัตโนมัติสำหรับ
ผู้หยั่งรู้วาระจิต (Empath

Similar Posts