Empathy ( #การหยั่งรู้วาระจิต)
Empathy ( #การหยั่งรู้วาระจิต) #แตกต่างจาก Sympathy (ความสงสาร)Sympathy จะเป็นความรู้สึกของความเศร้าโศกหรือเวทนาไปกับผู้ที่ประสบกับความทุกข์ยากลำบากในบางเรื่องราว…..แต่ Empathy คือการเสียสละ และแสดงออกด้วยการกระทำที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นซึ่งในขณะที่ Empathy จะดูเหมือนเป็นเรื่องที่เป็นไปด้านบวก และมีจริยธรรมอันสูงส่ง ทั้งยังมีหลักการในการปฏิบัติที่ดีก็ตามที แต่ก็มีบางคนเชื่อว่า การหยั่งรู้วาระจิตผู้อื่นมากเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อความผาสุกของตัว Empath (ผู้หยั่งรู้วาระจิต) เอง และอันตรายนั้นอาจลามไปถึงระดับโลกอีกด้วยเพราะพฤติกรรมของการหยั่งรู้วาระจิต (Empathy) ที่มากเกินไปนั้น จะไปรบกวนต่อการตัดสินใจที่ควรจะเป็นไปตามเหตุผล ซึ่งสืบเนื่องจากการที่พวก Empath ชอบที่จะใช้หัวใจนำทางมากกว่าสมอง ซึ่งอาจทำให้พวกเขาสูญเสียภาพที่กว้างขึ้นของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวก็เป็นได้ตามหลักจิตวิทยา… Empathy (การหยั่งรู้วาระจิต) แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ…คือ1. ‘การหยั่งรู้ที่มีความเข้าใจในด้านของปัญญา และองค์ความรู้ ‘ซึ่งมีขีดความสามารถในการเข้าใจว่าผู้คนรู้สึกอย่างไร และกำลังคิดอะไรอยู่ และการหยั่งรู้ในลักษณะนี้ จะทำให้เกิดการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้เกิดการถ่ายทอดข้อมูลที่สามารถเข้าถึงผู้อื่นได้อย่างตรงประเด็นที่สุด2. ‘การหยังรู้วาระจิตในด้านอารมณ์’ (หรือที่เรียกว่า รับอารมณ์ผู้อื่น) จะมีขีดความสามารถในการแบ่งปันความรู้สึกของบุคคลอื่น ซึ่งบางคนได้เปรียบเทียบไว้คล้ายประโยคที่ว่า…. “ความเจ็บปวดของคุณมันอยู่ในหัวใจของฉัน” …..ซึ่ง การหยั่งรู้ ฯ ในลักษณะนี้ จะทำให้เกิดการสร้างอารมณ์ร่วมในการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน3. ‘การหยั่งรู้ที่เป็นไปด้วยความเมตตา-กรุณา’ (หรือที่เรียกว่า เอื้ออาทร ) ซึ่งมีลักษณะของการแสดงออกที่มากกว่าแค่การทำความเข้าใจผู้อื่นหรือแค่แบ่งปันความรู้สึกให้กับพวกเขา: แต่การหยั่งรู้ในลักษณะนี้…มันกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำจริง ๆ…. Empathy ทั้ง 3 ลักษณะ มีการทำงานร่วมกันอย่างไร ? #ครูจะกลับมาเขียนต่อเรื่องนี้